
ธนาคารในสหรัฐอเมริกามีหลายธนาคาร เช่น Bank of America, US Bank, Well Fargos และอื่นๆ ฯลฯ ในแต่ละรัฐจะมีทั้งธนาคารใหญ่ๆ และธนาคารท้องถิ่นที่ชื่อของธนาคารอาจไม่คุ้นหูนักศึกษา ในวันปฐมนิเทศก์นักศึกษาใหม่ International Student Officer ประจำมหาวิทยาลัยนั้นๆ จะแจกเอกสารหรือคู่มือที่นักศึกษาควรทราบ ซึ่งภายในเนื้อเรื่อง จะมีการกล่าวถึงธนาคารที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากสถานศึกษานั้นๆด้วย อนึ่งในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่ตอบรับนักศึกษาเข้าเรียนภายใต้หัวข้อ International Student Office นักศึกษาก็สามารถเข้าไปค้นหา ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการเงินการธนาคารได้ ก่อนเดินทางไปฟังปฐมนิเทศก์ที่มหาวิทยาลัย
รายชื่อ Top 10 Banks ธนาคารในสหรัฐอเมริกา มีดังนี้คือ
- Bank of America Corp. มี Headquarters อยู่ที่ Charlotte, N.C.
- J.P.Morgan Chase & Company มี Headquarters อยู่ที่ New York, NY
- Citigroup มี Headquarters อยู่ที่ New York, NY
- Wells Fargo & Company มี Headquarters อยู่ที่ San Francisco, CA
- Goldman Sachs Group,Inc, The มี Headquarters อยู่ที่ New York, NY
- Morgan Stanley มี Headquarters อยู่ที่ New York, NY
- Metlife Inc. มี Headquarters อยู่ที่ New York, NY
- Barclays Group US Inc. มี Headquarters อยู่ที่ Wilmington, DE
- Taunus Corporation มี Headquarters อยู่ที่ New York, NY
- HSBC North America Holdings Inc. มี Headquarters อยู่ที่ New York, NY
Source: Federal Reserve System, National Information Center as of June30, 2010 ( http://www.ffiec.gov/nicpubweb/nicweb/top50form.aspx) ถ้าใช้ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2012 JP Morgan จะขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ส่วน Bank of America Corp จะเลื่อนลงไปอยู่อันดับที่ 2 ส่วนลำดับที่ 6-10 จะมีการเปลี่ยนแปลงไป
อนึ่ง นักเรียนนักศึกษาไม่สามารถเปิดบัญชีกับธนาคารพาณิชย์ของคนไทยที่ไปตั้งสาขาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ หากมีข้อสงสัย โปรดสอบถามกับเจ้าหน้าที่ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยที่นักศึกษาสนใจ และทราบว่ามีสาขาของธนาคารแห่งนั้นตั้งอยู่ในต่างประเทศ โดยอาจสอบถามกับเจ้าหน้าที่ด้านต่างประเทศของธนาคารแห่งนั้นๆ
หลักเกณฑ์การเลือกเปิดบัญชีธนาคารเวลาไปศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกา
- เลือกธนาคารที่ตั้งอยู่ใกล้มหาวิทยาลัย ที่เรากำลังศึกษาอยู่ หรือ ใกล้กับหอพัก เพื่อความสะดวกในการเดินทาง แม้บางเมืองที่ไปศึกษาต่อจะไม่มีชื่่อธนาคารใหญ่ๆที่เราคุ้นหู นักศึกษาก็จำเป็นต้องเปิดบัญชีกับธนาคารท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ๆนั้น เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทางไปทำธุรกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการฝากเงิน หรือถอนเงิน
ตามที่ได้เกริ่นไว้ข้างต้นแล้วว่า เว็บไซต์ของสถานศึกษาที่ตอบรับนักศึกษาเข้าเรียนในหน้าที่เกี่ยวข้องกับ International Student Office จะแจ้งรายชื่อธนาคารที่อยู่ในละแวกเดียวกับที่สถานศึกษานั้นตั้งอยู่ บางสถานศึกษาจะมีธนาคารตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยด้วยซ้ำไป ดังนั้น นักศึกษาไม่ต้องกังวลในเรื่อง 1. จะเปิดบัญชีกับธนาคารชื่ออะไรดี 2. การเปิดบัญชีธนาคารจะยุ่งยากไหม ให้สังเกตว่า ในรายการปฐมนิเทศก์นักศึกษาใหม่ ( Orientation) หัวข้อประกอบการบรรยายทุกครั้ง คือ การแนะนำการเปิดบัชีกับธนาคาร ในวันปฐมนิเทศก์ยังจะมีตัวแทนจากธนาคารต่างๆที่ตั้งอยู่ในละแวกเดียวกับมหาวิทยาลัยเข้ามาทำการประชาสัมพันธ์และอธิบายวิธีการเปิดบัญชีธนาคาร พร้อมทั้งมีของชำร่วย และทางเลือกของการใช้เครื่องมือทางการเงินอีกมากมายไว้ให้ผู้เปิดบัญชีใหม่ด้วย
- นักศึกษาควรสอบถามเพิ่มเติม ถึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อใช้เปรียบเทียบในการเลือกธนาคาร
- ธนาคารบางแห่งมีข้อเสนอพิเศษ ที่เพิ่มแรงจูงใจให้นักศึกษาอยากฝากเงินที่ธนาคารนั้นๆ เช่น มีสมุดเขียนเช็คแจกฟรี ในการเปิดบัญชี Checking account ครั้งแรก
- นักศึกษาบางท่านมีความละเอียดรอบคอบ ที่จะถามเจ้าหน้าที่ธนาคารก่อนล่วงหน้า ในเรื่องอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียมแรกเข้าบัตรเดบิตของธนาคารในสหรัฐฯ, ค่าธรรมเนียมการซื้อสมุดเช็ค, ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน, ระยะเวลาที่ใช้ในการรับเงินโอนจากประเทศไทย, บริการเสริมพิเศษที่ธนาคารแห่งนั้นมี แต่ธนาคารอื่นอาจไม่มี เป็นต้น ข้อมูลที่นักศึกษาได้รับจะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาในการเลือกเปิดบัญชีกับธนาคารว่า ควรเลือกธนาคารแห่งใดดี
ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการสอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษตอนปลายให้รู้จักการใช้ธนาคารและบริการทางการเงิน มีวิดีโอที่นักศึกษาสามารถค้นคว้าหาข้อมูลเหล่านี้ได้ด้วยตนเองก่อนเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ยกตัวอย่างวิดีโอเกี่ยวกับการเงินและการธนาคารที่น่าสนใจชุดหนึ่ง เป็นชุดวิดีโอที่ผลิตโดย นักศึกษาที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐฯควรซ้อมฟังวิดีโอชุดดังกล่าวเพื่อเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษและวิธีการไปติดต่อทำธุรกรรมกับธนาคาร วิดีโอชุดดังกล่าวสามารถหาดูได้
ท้ายเรื่องนี้ขอยกตัวอย่างรายชื่อเว็บไซต์ของธนาคารใหญ่ๆ ในสหรัฐซึ่งนักศึกษา สามารถเข้าไปศึกษาก่อนล่วงหน้าเดินทางไปถึงสหรัฐอเมริกา เช่น วิธีการฝากและถอนเงิน ค่าธรรมเนียมในการโอนเงินที่ธนาคารในประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกเก็บจากลูกค้า ก่อนที่นักศึกษาจะได้รับเงินที่ส่งไปจากประเทศไทย นักศึกษาจะต้องถูกหักค่าโอนเงินจากธนาคารในสหรัฐอเมริกาด้วย
ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยจะคิดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินแตกต่างกัน โดยธนาคารบางแห่ง จะชี้แจงค่าธรรมเนียมในการโอนทั้งฝั่งไทยและฝั่งสหรัฐฯ บางแห่งจะชี้แจงเฉพาะฝั่งไทยฝั่งเดียว กฎระเบียบนี้เกิดขึ้นกับการโอนเงินไปทุกธนาคารในต่างประเทศ ไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะกับธนาคารในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
ธนาคารมักใช้คำศัพท์เรียกค่าธรรมเนียมในการโอนเงินระหว่างประเทศดังนี้
- Charge Ben ( Charge Beneficiary) หมายถึง ค่าธรรมเนียมเงินโอน ที่ผู้รับผลประโยชน์ปลายทางต้องเป็นผู้รับภาระในการจ่ายเองก่อนที่จะได้รับเงินทั้งก้อนทีผู้โอนจากประเทศไทยโอนไปเข้าบัญชีผู้รับในต่างประเทศ
- Charge our หมายถึง ผู้โอนออกจากประเทศไทยต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าธรรมเนียมทั้งสองฝั่ง เช่น ผู้ปกครองจากเมืองไทย จ่ายค่าธรรมเนียมในการโอนเงินทั้งที่เมืองไทยและที่ต่างประเทศ เพื่อให้ผู้รับปลายทางได้รับเงินโอนเต็มจำนวน โดยไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใดๆเพิ่มอีก แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมเกิดขึ้นได้อีกเล็กน้อย ถ้านักศึกษาท่านนั้นอยู่ในเมืองเล็กๆ ซึ่งอาจจะมีค่าธรรมเนียมที่ธนาคารท้องถิ่นเล็กๆนั้นคิดเพิ่ม